Monthly Archives: February 2015

วิธีใช้งาน Composer เบื้องต้น

Composer เป็นเครื่องมือ ของ PHP ใช้จัดการ library ที่ต้องการใช้ในโปรเจ็ค ลักษณะการใช้งานคือ ให้เราระบุ library ที่โปรเจ็คของเราต้องการไว้ในไฟล์ composer.json จากนั้น composer จะทำการติดตั้งหรืออัพเดท library ที่เราต้องการให้เลย ช่วยให้เราจัดการกับ library ได้ง่ายขึ้น

วิธีจัดรูปแบบ (format) JSON ใน command line

สำหรับใครที่ใช้งาน command line อยู่บ่อยๆ จนชินหรืออะไรๆ ก็อยู่ใน terminal ไปซะหมด ถ้าหากทำงานกับ json ก็ต้องหาวิธีการจัด format ให้ดูง่ายๆ หน่อย ไม่ใช่ต่อกันยาวบรรทัดเดียวดูยาก จ้องจนตากลายกันไปเลย เดี๋ยววันนี้จะมาแนนำวิธีจัด format ของ json กัน

PHP: การใช้งานฟังก์ชัน array_pop

ฟังก์ชัน array_pop จะคืนค่า (return) สุดท้ายที่อยู่ใน array และจะลบค่านั้นออกจาก array ด้วย แต่ถ้า array นั้นไม่มีค่าอยู่ใน array (empty array) ฟังก์ชัน array_pop ก็จะคืนค่า NULL ออกมาแทน หรือถ้ามีการส่ง input ที่ไม่ใช่ array  เข้าไป ก็จะมีการเตือนออกมา “PHP Warning:  array_pop() expects parameter 1 to be array”

PHP: การใช้งานฟังก์ชัน array_merge

ฟังก์ชัน array_merge เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันที่ผมใช้บ่อยอยู่เหมือนกัน ลักษณะการทำงานของฟังก์ชันนี้จะเป็นการนำเอา array มารวมกัน ถ้าหาก array มี index ที่เหมือนกัน ค่าของ array ท้ายสุดจะถูกนำมาใช้ ตรงนี้นี่เองที่ผมชอบเอามาใช้ในการกำหนดค่าตั้งต้น (default) ให้กับ array

PHP: การใช้งานฟังก์ชัน substr

ฟังก์ชัน substr ของ PHP ก็ตามชื่อของฟังก์ชันเลยครับซับเอาบางส่วนของ string ออกมาจาก input string โดยระบุตำแหน่งเริ่มต้น ($start) และขนาด ($length) ของ  string ที่ต้องการ 

fswatch กับการรันคำสั่ง phpunit อัตโนมัติ

ลองมาใช้ fswatch (file system watch มั๊ง ^^) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่คอยจำตาดูการเปลี่ยนแปลงของไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เราระบุไว้ร่วมกับ PHPUnit ดูหน่อย หลังจากที่ได้ใช้ Grunt watch เพื่อรันคำสั่ง PHPUnit แล้ว ก็เจอปัญหานิดหน่อยจริงๆ ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรมากมายนะครับ (ได้คืบจะเอาศอก) มันจะต้องเข้าไปแก้ไขไฟล์ Gruntfile.js เพื่อเปลี่ยนโฟลเดอร์งานตลอดเลย อีกอย่างก็ต้องติดตั้ง node package ทุกโปรเจ็คอีก ก็เลยหาวิธีใหม่ ตามประสาคนไม่ชอบจำเจ ^^