การรักษาอาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคที่พบบ่อยที่สุด คือ นิ้วหัวแม่มือและนิ้วนาง ซึ่งจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงอายุ 45-50 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้มือทำงานในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดผ้า เป็นต้น

อาการนิ้วล็อคจะแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

  1. ระยะแรก มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้าจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการสะดุด
  2. ระยะสอง มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้วและเหยียดนิ้ว
  3. ระยะสาม มีอาการติดล็อค เมื่องอนิ้วลงไปแล้วจะไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วให้ตรงได้ ถ้าใช้มือช่วยจะปวดมาก

การรักษาอาการนิ้วล็อค ถ้าเป็นระยะแรกจะให้ทานยา เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบและให้พักการใช้มือ ถ้าเป็นระยะที่สองจะใช้เครื่องดามนิ้ว หรือการนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบ และออกกำลังกายด้วยการเหยียดนิ้ว นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ บวม และเป็นการรักษาที่ได้ผลดี แต่มีข้อจำกัด คือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อนิ้วที่เป็นโรค

สำหรับการรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัด โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างเพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนที่ผ่านได้สะดวก ไม่ติดขัด หลังผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ ส่วนการผ่าตัดโดยใช้เข็มเขี่ยยังไม่เป็นวิธีรักษาที่มาตรฐาน เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและเส้นประสาทได้