การจัดการหน้าเว็บเพจให้เป็นไปตามหลักของ SEO

การทำ SEO ให้กับเว็บเพจแต่ละหน้าของเว็บไซต์ จะทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นมิตร (friendly) กับ Robot ต่าง ๆ ของ Search Engine ได้ เมื่อเป็นมิตรกันก็คุยกันรู้เรื่อง เวลาใครถาม (ค้นหา) เว็บไซต์ของเราจาก Search Engine จะทำให้สามารถบอกข้อมูลของเว็บไซต์เราได้

1. ชื่อไฟล์และชื่อโฟลเดอร์ การตั้งชื่อไฟล์และชื่อโฟลเดอร์ที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจหน้านั้น ควรตั้งชื่อให้สื่อความหมาย หรือมีคีย์เวิร์ดปนด้วย ไม่ว่าจะเป็นชื่อของเพจ ไม่ว่าจะเป็น .html .php ฯลฯ รวมทั้งชื่อโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์รูปและไฟล์เอกสารเว็บเพจ นอกจากนี้ชื่อรูปต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบหน้าเว็บเพจนั้น ก็ควรเป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเพจนั้น ๆ ด้วย

2. เมนูของเว็บไซต์ การตั้งชื่อเมนูและตำแหน่งขอเมนูในหน้าของเพจ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการจัดการเว็บเพจให้ถูกหลัก SEO เราจะต้องตั้งชื่อเมนูให้มีความหมาย และควรวางตำแหน่งของลิงค์เมนูที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราไว้บริเวณส่วนบนสุดของเพจหรือไม่ควรเกินลิงค์ที่ 300 ในหน้าเพจนั้น ๆ เนื่องจากบอทจะทำการอ่านข้อมูลจากด้านบนของเพจ หากเจอลิงค์เมนู บอทก็จะตามลิงค์เข้าไปกวาดข้อมูลในหน้าถัดไปด้วย ซึ่งบอทยิ่งตามเข้าไปเก็บข้อมูลมากก็จะมีผลดีต่อเว็บไซต์ของเรา แต่บอทจะไม่กวาดตามเข้าไปในทุก ๆ ลิงค์เมนูของหน้าเพจ แต่จะตามลิงค์เข้าไปแค่ 300 ลิงค์แรกของหน้าเพจเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะนำลิงค์เมนูเว็บของเราไปวางที่ตำแหน่งล่าง ๆ เพราะจะหมดโอกาสที่จะถูกบอทเก็บข้อมูล ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรที่จะนำเมนูลิงค์เชื่อมโยงไปยังไซต์อื่น ๆ มาวางไว้ที่ตำแหน่งด้านบน สังเกตตัวอย่างได้จาก การลิงค์แบนเนอร์แลกลิงค์หรือแลก text link ซึ่งเป็นลิงค์ที่ออกนอกไซต์ (Outbound Link) จะถูกแสดงอยู่บริเวณด้านล่างของเว็บเพจ

3. ควบคุมจำนวนของ Outbound Link Outbound Link หรือ ลิงค์ที่เชื่อมโยงออกนอกเว็บไซต์ ควรที่จะมีไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก Search Engine อย่าง Google.com จะพิจารณาจำนวนของลิงค์ที่ทำการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจะพิจารณาจากทั้ง Outbound Link และ Inbound Link ซึ่งหาก Outbound Link ของเว็บไซต์เรามีเยอะ จะทำให้ค่า PR (PageRank) ของเรามีค่าน้อย ซึ่งจะมีผลต่อการจัดลำดับรายการการค้นหา ทำให้อันดับของเว็บไซต์เราลดลง ในขณะเดียวกันหาก Outbound Link ของเราน้อยก็จะมีผลดีกับเว็บไซต์ของเรา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้เว็บไซต์ของเรามี Outbound Link เลย เพราะ Outbound Link ที่คุ้มค่าก็มี ตัวอย่างเช่น การแลกลิงค์กับเว็บอื่น ๆ ถึงแม้เรามี Outbound Link แต่ในขณะเดียวกันก็มี Inbound Link ทำให้ไม่มีผลเสียกับเว็บเรา เนื่องจาก Outbound Link เป็นการเพิ่มช่องทางในการที่คนจะเข้าเว็บไซต์เราเพิ่มขึ้น

4. การใช้ CSS เป็นการแบ่งส่วนต่าง ๆ ของเว็บเก็บแบบแยก แล้วมีการเรียกเข้ามาใช้งานในเพจ ซึ่งจะช่วยให้บอทสามารถโหลดส่วนต่าง ๆ ของเว็บ เพราะบางส่วนเช่นสคริปต์ต่าง ๆ บอทจะอ่านไม่ออก และหากมีการใส่สคริปต์ไว้ในหน้าเพจเดียว บอทเจอเยอะ ๆ เดียวบอทมีอาการงอนออกจากเว็บไปดื้อ ๆ จะส่งผลเสียทำให้เก็บข้อมูลของเราไม่ครบ และอีกอย่างก็คือหากไม่มีการจัดการเว็บเพจโดยใช้ CSS ช่วยจะทำให้หน้าเพจบวมเกินไป

5. ทำขนาดของเว็บเพจให้น้อยที่สุด ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและเห็นผลกันอย่างชัด ๆ เนื่องจาก Google จะให้ความสำคัญกับขนาดของไฟล์ ซึ่งยิ่งมีขนาดน้อยได้ยิ่งดี เพราะหากเว็บที่มีข้อมูลต่าง ๆ เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ขนาดของไฟล์ จะทำให้เว็บไซต์ที่มีขนาดหน้าเว็บเพจน้อยกว่าทำอันดับดีกว่า ซึ่งขนาดหน้าเว็บเพจควรมีขนาดไม่เกิน 32 kb. โดยเฉพาะหน้าโฮมเพจ จึงควารจัดการให้มีขนาดให้น้อยที่สุดเข้าไว้ เพื่อที่จะได้ทำดันดับสูง ๆ ใน Search Engine อย่าง Google