บทความที่เกี่ยวข้องกับ: wordpress

Jetpack กับ CDN สำหรับรูปภาพ และ static files (javascript, css) ของ WordPress

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมพยายามปรับปรุง imooh.com ให้เร็วขึ้น จะได้ช่วยเพื่อนๆ (ถึงจะน้อยนิดแต่เราก็ใส่ใจนะจ๊ะ) ที่สนใจเข้ามาอ่านบทความไม่ต้องเสียเวลารอเว็บโหลดนานๆ แล้วเริ่มจากตรงไหนดีล่ะ เข้าไปที่ GoogleSpeed Insight ก่อนเลยครับ จะได้รู้ว่าเราต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง เพื่อจะได้ส่งมอบเนื้อหาได้เร็วขึ้น ^^

ลองใช้งาน Docker Compose กับ WordPress

ไม่ได้เขียนบทความซะนาน กลับมาเขียนๆ ไว้ซักหน่อยดีกว่า บทความนี้จะเป็นการใช้งาน Docker Compose เพื่อติดตั้ง WordPress ใครที่ใช้ Docker อยู่แล้วก็คงรู้แล้วว่า Docker นั้น ช่วยให้เราจัดการอะไรหลายๆ อย่างได้สะดวยขึ้น ตัวอย่างก็คือ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องโดยตรง เล่นเสร็จก็ลบ container ไม่มีอะไรมากินพื้นที่อันนี้นิดของเรา (ของผมยังเป็น SSD 128G ก็เลยต้องประหยัดๆ หน่อย ^^)

ลบแท็ก LI ออกจากเมนูที่ได้จากฟังก์ชัน wp_nav_menu ของเวิร์ดเพรส

สำหรับเพื่อนๆ ทั้งที่เคยใช้และไม่เคยใช้ฟังก์ชัน wp_nav_menu เห็นหัวข้อแล้วก็ไม่ต้องตกใจนะครับ ไม่ใช่ว่าของเค้าทำมาไม่ดีนะครับ ออกตัวไว้ก่อน ^^ เทคนิคนี้เอาไว้ประยุกต์ใช้ในบางโอกาศที่เราไม่ต้องการแท็ก LI แต่อยากได้ความสามารถในการแก้ไขเมนูจากหลังบ้านได้เอง โดยไม่ต้องฝังลิงค์ (hard code) ไว้ในธีม และแน่นอนว่ามันจะอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้เราด้วย

คุณไม่มีสิทธิ์เข้าถึงหน้านี้ (You Do Not Have Sufficient Permissions To Access This Page.)

สำหรับการนักพัฒนาธีมของ WordPress น่าจะรู้ดีว่า การที่เราสร้างธีมให้มีความยืดหยุ่นนั้น ย่อมเพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับผู้ที่นำเอาไปใช้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องเพิ่มหน้าการตั้งค่าต่างๆ ให้กับธีมของเราด้วย

ทำความรู้จัก Custom Post Type ของ WordPress

เวิร์ดเพรส (WordPress) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ที่มีความยืดหยุ่นสำหรับเหล่านักพัฒนาเป็นอย่างมาก ปกติแล้วเวิร์ดเพรสมี post_type ในการจัดการเรื่องการแสดงผล เมื่อเราติดตั้งเวิร์ดเพรสเราจะมี post_type ที่เราสามารถใช้งานได้เลย

Git กับการเตรียมความพร้อมสำหรับแก้ไขธีมของ Imooh.com

วันนี้ว่างๆ นึกอยากแก้ไขธีมของ Imooh.com ซะหน่อย สิ่งที่อยากได้คือ เก็บโค้ดด้วย Git และเมื่อมีการ push โค้ดก็ให้อัพเดทธีมอัตโนมัติไปเลย (แต่ก็ต้องเทสที่ local environment แล้วนะ ^^) ก็เลยเอาขั้นตอนมาเขียนไว้ซะหน่อย เผื่อเพื่อนๆ สนใจจะลองทำดูบ้าง หรือมีวิธีที่จะมาแนะนำก็ยินดีครับ

Upgrade WordPress ที่ localhost ทำไมต้องใช้ FTP กด Update Now ไปเลยง่ายกว่าไหม!!

สำหรับสาวก WordPress คงชินแล้วกับการอัพเกรดเวอร์ชั่นบ่อยมาก (ถึงมากที่สุด ^^) ส่วนตัวแล้วผมก็เอาความสะดวกเข้าว่า ล็อกอิน แล้วก็คลิก Update Now เลย จริงๆ ก็มีข้อความเตือนนะว่าให้ Backup ข้อมูลก่อน ^^ นี่เป็นการอัพเกรด WordPress ที่เครื่อง Production

การใช้งาน Featured Image ของบทความใน WordPress

Featured Image ใน WordPress เป็นฟีเจอร์หนึ่งของระบบธีม (theme) ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก Post thumbnails (WordPress 2.9) มาเป็น Featured Image (WordPress 3.0) โดยหลักการของ Featured Image นี้เป็นการเลือกเอารูปภาพเด่นๆ หรือรูปภาพที่แสดงถึงบทความเหล่านั้น ส่วนการนำมาใช้หรือจะให้แสดงที่ตำแหน่งไหนก็แล้วแต่ธีมที่ใช้ครับ

WordPress 3.6.1 ออกมาให้อัพเกรดกันแล้ว ^^

วันนี้เข้ามาอัพเกรด WordPress ซะหน่อย หลังจากที่ใช้เวอร์ชัน 3.6 มาได้ซักพัก ซึ่งเวอร์ชัน 3.6 นี้มีการดาวน์โหลดเกือบจะ 7 ล้านครั้งเข้าไปแล้ว (WordPress 3.6.1 Maintenance and Security Release) เห็นในหน้า Dashboard แจ้งให้อัพเกรดก็ไม่รอช้าล่ะนะครับ ฮ่าๆ ๆ เพราะเป็น Security Release ของเวอร์ชัน 3.6 (fixes 13 bugs)

วิธีเปลี่ยนหรือลบข้อความอ่านเพิ่ม readmore ใน wordpress

ข้อความที่ต่อท้ายโพสของเรา “อ่านเพิ่ม…” หรือ “Read more…” นั้น ดูแล้วก็อาจจะช่วยให้เกี่ยวกับการเชื่อมโยงลิงค์ภายในเว็บเรา (internal link) ก็เป็นปัจจัยหนึ่งสำหรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) โดยถ้าลงในรายละเอียดเข้าไปอีกก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อความที่เป็นลิงค์นั่นเอง